ข้อมูลพื้นฐาน
ประวัติตำบลในเตา
17 มีนาคม 2564

0


ประวัติตำบลในเตา
1. ความเป็นมาของชื่อในเตา
           ในเตาเป็นชื่อบ้านเฉพาะที่มีประวัติความเป็นมายาวนานจนไม่สามารถ หาผู้เล่าได้ แต่สันนิษฐานว่ามีอายุการตั้งบ้านเรือนเท่ากับอายุวัด เนื่องจากมีหนังสือบอกถึงความเป็นมาของวัดไว้ บางตอน แต่ในประวัติไม่ได้กล่าวถึงบ้าน จึงคาดว่าในเตาเป็นหมู่บ้านที่ราบกับอยู่ในหุบเขา ดูรอบ ๆ แล้วดูเหมือนว่าจะอยู่ในเตาเผา คำว่าในเตาน่าจะเป็นชื่อรวมทั้งหมด
2. ความเป็นมาของตำบลในเตา
           เนื่องจากท้องที่ตำบลในเตาเป็นภูเขาและเป็นมาก จึงเป็นที่เกิดของสายน้ำลำธารหลายสาย มีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมาก มีวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ซึ่งมีโบราณวัตถุคือ พระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ชื่อพุทธโกษีย์ พระธรรมฤาจี สามเณรศรีไกรสรณ์ พระพุทธรูป 3 รูป ที่กล่าวมานี้ เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธตำบลในเตาตลอดมา
           ตำบลในเตามีคนเข้าอยู่อาศัยมาแล้วอาจเป็นพันปี มาระยะหลัง ๆ มีแต่ความเล่าต่อๆ กันว่า วัดและบ้านบางครั้งก็มีคนเข้าอยู่อาศัย บางครั้งก็ร้าง บางระยะก็ร้างเฉพาะวัด บางระยะก็ร้างทั้งบ้านและวัด สมัยที่ร้างบางคราวชาวบ้านก็นำข้าวมาถวายพระพุทธรูปแล้วเลี้ยงดูกันเองในถ้ำ
           ในสมัยที่ใช้ระบบการปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราช การปกครองบ้านในเตาขึ้นกับอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อมีการปกครองระบบใหม่รายการขึ้นกับตำบลเกาะเต่า อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ประชากรตำบลในเตาเป็นคนดี แต่บ้านในเตาเป็นที่หลบซ่อนตัวของพวกมิจฉาชีพ เป็นเหตุให้เกิดลำบากที่จะปราบปราม ต่อมา พ.ศ.2480 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บ้านในเตาเข้ามาอยู่ในความรับผิดชอบของตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด หลังจากที่ตำบลในเตาเป็นเรือพ่วงมาถึง พ.ศ.2528 ทางราชการเห็นว่าควรที่จะให้ประชาชนบ้านในเตาซึ่งมีสิ่งแวดล้อมต่างกับสถาน ที่อื่น ๆ ให้รับผิดชอบตัวเอง กำหนดทิศทางตัวเองได้จึงยกฐานะให้เป็นตำบลตาม พรบ. การปกครองท้องที่ กำนันตำบลในเตาคนแรกคือ นายสนิท ศรีศักดา ปัจจุบัน คือ นายจรูญ  ทองบุญแก้ว (พ.ศ.2558-ปัจจุบัน)
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
5 พฤศจิกายน 2563

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
1.สภาพทั่วไป
1.1  ที่ตั้ง
          องค์การบริหารส่วนตำบลในเตา  เดิมเป็นสภาตำบลในเตา  ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล   ในเตา เมื่อปี พ.ศ.2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่  16 ธันวาคม พ.ศ.2539 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537  ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 113  ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2539 ลำดับที่ 779
          องค์การบริหารส่วนตำบลในเตา  ตั้งอยู่เลขที่  172  หมู่ที่  1  ตำบลในเตา  อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง  ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยยอดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ระยะทาง ประมาณ  23  กิโลเมตร โดยมี นายจรูญ ทองบุญแก้ว เป็นกำนันตำบลในเตา
1.2  เนื้อที่
          ตำบลในเตา  มีพื้นที่ทั้งหมด  24,538   ไร่  หรือประมาณ  39.261  ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด  4   หมู่บ้าน   ดังนี้
หมู่ที่  1      บ้านหน้าวัด
หมู่ที่  2      บ้านเขาหล้อม
หมู่ที่  3      บ้านไร่เหนือ
หมู่ที่  4      บ้านนอก
1.3  ภูมิประเทศ
            ลักษณะภูมิประเทศของตำบลในเตา  มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงเนินเขา  และมีบางส่วนมี ลักษณะเป็นราบลุ่มอุดมไปด้วยลำธาร สายห้วย แหล่งน้ำตามธรรมชาติหลายสาย  และมีป่าไม้ซึ่ง
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตอุทยานแห่งชาติคลอบคลุมเกือบทั้งตำบล
  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้  
ทิศเหนือ        ติดต่อกับตำบลน้ำตก   อำเภอทุ่งสง   และตำบลวังอ่าง  อำเภอชะงวด จังหวัดนครศรีธรรมราช  และตำบลเขาไพร  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง
ทิศใต้            ติดต่อกับตำบลเขาปูน  และตำบลท่างิ้ว  อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลวังอ่าง  อำเภอชะงวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช  และตำบลล่านข่อย  อำเภอป่าพยอม  จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับตำบลท่างิ้ว  อำเภอห้วยยอด  และตำบลหนองปรือ  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง
สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
19 มกราคม 2562

0


สภาพและข้อมูลพื้นฐาน
2. สภาพทางเศรษฐกิจ
2.1  อาชีพ
         ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ ค้าขาย และประกอบอาชีพรับจ้างในภาคเกษตร
2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
         - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ        จำนวน              -            แห่ง
         - โรงงานอุตสาหกรรม    จำนวน              -             แห่ง
สภาพทางสังคม
18 มกราคม 2562

0


3. สภาพทางสังคม      
3.1  การศึกษา
         -  โรงเรียนประถมศึกษา                    จำนวน              1          แห่ง
         -  โรงเรียนมัธยมศึกษา                     จำนวน              1          แห่ง
         -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                       จำนวน              1          แห่ง
         -  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน    จำนวน              2          แห่ง
3.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
           -  วัด                จำนวน      1      แห่ง      คือ วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ หมู่ที่ 1
           -  สำนักสงฆ์     จำนวน      1      แห่ง      คือ สำนักสงฆ์บ้านเขาหล้อม หมู่ที่ 2
           -  โบสถ์           จำนวน      -      แห่ง
           -  มัสยิด           จำนวน      -      แห่ง
3.3  สาธารณสุข
           - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน  1  แห่ง
           - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ 100%
3.4  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 
           - สถานีตำรวจชุมชน    จำนวน     1   แห่ง
           - สถานีดับเพลิง           จำนวน     -    แห่ง
การบริการพื้นฐาน
17 มกราคม 2562

0


การบริการพื้นฐาน
4. การบริการพื้นฐาน
4.1  การคมนาคม 
           การคมนาคมในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเตา       มีการคมนาคมทางบกเป็น สำคัญ   คือ   ทางหลวงท้องถิ่น  4270   สายห้วยยอด - เขาปูน -ท่างิ้ว -ในเตา   ซึ่งผ่านหมู่ที่ 1  ตำบลในเตา  โดยเป็นสายหลักของตำบลในการเดินทางเข้าสู่เมือง  และ อำเภอใกล้เคียง  นอกจากนั้นก็มีถนนสายอื่น ๆ  ที่แยกจากเส้นทางสายหลัก  และถนนที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ  ซึ่งมีสภาพเป็นถนนลูกรัง/หินคลุก
4.2 การโทรคมนาคม
           -  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขชุมชน      1     แห่ง
4.3   การไฟฟ้า 
           ตำบลในเตาราษฎรมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน โดยมีจำนวนประชาชนที่ใช้ไฟฟ้า รวม 791   ครัวเรือน   
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
           -  ลำน้ำ  , ลำห้วย                  28      สาย
           -  บึง,หนอง และอื่น ๆ              5       แห่ง
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

หมู่ที่

ฝาย

บ่อน้ำตื้น

ประปาหมู่บ้าน/ประปาภูเขา

บ่อบาดาล

ถังเก็บน้ำฝน(ถังปูนฉาบ)

สระเก็บน้ำ

รวม 
(แห่ง)

1

-

5

3

1

2

2

13

2

1

-

2

-

2

1

6

3

-

2

2

-

2

-

6

4

1

12

2

2

2

-

19

รวม

2

19

9

3

8

3

44

 

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
16 มกราคม 2562

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของท้องถิ่น
 
1.สภาพทั่วไป
1.1  ที่ตั้ง
          องค์การบริหารส่วนตำบลในเตา  ตั้งอยู่เลขที่  172   หมู่ที่  1  ตำบลในเตา   อำเภอห้วยยอด
 จังหวัดตรัง     ห่างจากที่ว่าการอำเภอห้วยยอดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ระยะทาง ประมาณ  23  กิโลเมตร โดยมี นายจรูญ ทองบุญแก้ว เป็นกำนันตำบลในเตา
1.2  เนื้อที่
          ตำบลในเตา    มีพื้นที่ทั้งหมด   24,538   ไร่   หรือประมาณ    39.261   ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านทั้งหมด   4   หมู่บ้าน   ดังนี้
หมู่ที่  1      บ้านหน้าวัด
หมู่ที่  2      บ้านเขาหล้อม
หมู่ที่  3      บ้านไร่เหนือ
หมู่ที่  4      บ้านนอก
1.3  ภูมิประเทศ
            ลักษณะภูมิประเทศของตำบลในเตา    มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงเนินเขา    และมีบางส่วนมี ลักษณะเป็นราบลุ่มอุดมไปด้วยลำธาร   สายห้วย   แหล่งน้ำตามธรรมชาติหลายสาย    และมีป่าไม้ซึ่ง
อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ   และเขตอุทยานแห่งชาติคลอบคลุมเกือบทั้งตำบล
            มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้  
ทิศเหนือ  ติดต่อกับตำบลน้ำตก   อำเภอทุ่งสง   และตำบลวังอ่าง  อำเภอชะงวด จังหวัดนครศรีธรรมราช  และตำบลเขาไพร  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง
ทิศใต้     ติดต่อกับตำบลเขาปูน    และตำบลท่างิ้ว  อำเภอห้วยยอด  จังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลวังอ่าง  อำเภอชะงวด  จังหวัดนครศรีธรรมราช  และตำบลล่านข่อย  อำเภอป่าพยอม  จังหวัดพัทลุง
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับตำบลท่างิ้ว  อำเภอห้วยยอด  และตำบลหนองปรือ  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง
การบริการพื้นฐาน
16 มกราคม 2562

0


การบริการพื้นฐาน
 
4. การบริการพื้นฐาน
4.1  การคมนาคม 
           การคมนาคมในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเตา       มีการคมนาคมทางบกเป็น สำคัญ   คือ   ทางหลวงท้องถิ่น  4270   สายห้วยยอด - เขาปูน -ท่างิ้ว -ในเตา   ซึ่งผ่านหมู่ที่ 1  ตำบลในเตา  โดยเป็นสายหลักของตำบลในการเดินทางเข้าสู่เมือง  และ อำเภอใกล้เคียง  นอกจากนั้นก็มีถนนสายอื่น ๆ  ที่แยกจากเส้นทางสายหลัก  และถนนที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ  ซึ่งมีสภาพเป็นถนนลูกรัง/หินคลุก
4.2 การโทรคมนาคม
           -  ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขชุมชน      1     แห่ง
4.3   การไฟฟ้า 
           ตำบลในเตาราษฎรมีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน โดยมีจำนวนประชาชนที่ใช้ไฟฟ้า รวม 791   ครัวเรือน   
4.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
           -  ลำน้ำ  , ลำห้วย                  28      สาย
           -  บึง,หนอง และอื่น ๆ              5       แห่ง
 
4.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ข้อมูลอื่น ๆ
16 มกราคม 2562

0


ข้อมูลอื่น ๆ
5. ข้อมูลอื่น ๆ
5.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
           มีทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ   และมีถ้ำ    น้ำตกเล็ก  ๆ
5.2 มวลชนจัดตั้ง
           -  ลูกเสือชาวบ้าน     -      รุ่น  
           -  อปพร.   1      รุ่น        77   คน
           -  ไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช. )     1      รุ่น        80    คน
           -  อพป.   1      รุ่น      125    คน
ผู้บริหารและสมาชิก

ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

หมายเหตุ

1.

  นายบุญธรรม  กี่สุ้น

 นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

 

2.

  นายสิทธิชัย  จันทร์คง

 รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

 

3.

  นายสมพงษ์  กลับจันทร์

 รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

 

4.

  นายธวัช  เชื้อขำ

 เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

 

5.

  นายรื่น  อนุวัฒน์

 ประธานสภา อบต.

 

6.

  นางสมจิตร  ด้วงรอง

 รองประธานสภา อบต.

 

7.

  นายศราวุฒิ  บุญลือเลิศ  

 เลขานุการสภา อบต.

 

8.

  นายคล่อง  อิฐเขตต์

 สมาชิกสภา  อบต. หมู่ที่ 2

 

9.

  นายศุภวิชญ์  แสงประจง 

 สมาชิกสภา  อบต. หมู่ที่ 4

 

10.

  นายพิมล  ศรีแก้ว 

 สมาชิกสภา  อบต. หมู่ที่ 4

 

 

ข้อมูลประชากร
30 พฤศจิกายน 542

0


1.4  ข้อมูลประชากร
หมู่ที่ ชาย หญิง รวม จำนวนครัวเรือน ชื่อผู้นำ
 1. บ้านหน้าวัด 465 451 916 372  นายทิพย์  ด้วงรอง
 2. บ้านเขาหล้อม 299 309 608 209  นายสว่าง   ทองนาค
 3. บ้านไร่เหนือ 367 355 722 257  นายสมนึก  ชุมเกตุ
 4. บ้านนอก
419 394 813 279  นายจรูญ ทองบุญแก้ว
รวม 1,550 1,509 3,059 1,117  
องค์การบริหารส่วนตำบลในเตา มีจำนวนประชากร  3,059   คน   เป็นชาย   1,550  คน   หญิง  1,509  คน
(ข้อมูลจาก ระบบสถิติการตรวจสอบข้อมูลสถิติทางการทะเบียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 มีนาคม  2565)